บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2018

“เรารักษ์” วัฒนธรรมงดงาม ณ บ้านหนองบ่อ จังหวัดอุบลราชธานี

รูปภาพ
ประวัติบ้านหนองบ่อ           บ้านหนองบ่อ หมายถึง หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ใกล้บริเวณที่มีน้ำออกบ่อ ( น้ำซับ) เป็นหนองน้ำออกบ่อขนาดใหญ่ และภายในหมู่บ้านมีหนองน้ำอยู่หลายแห่ง อาทิ เช่น หนองแล้ง , หนองตาเอียด และหนองหลวง บรรพบุรุษจึงตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านหนองบ่อ" บ้านหนองบ่อไม่มีใครทราบว่าใครเป็นผู้นำกลุ่มชนมาตั้งหมู่บ้านแห่งนี้ เพราะไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจน ทราบแต่ว่าแต่เดิมนั้นเป็นชาวบ้านตากแดด ( ดงบังบ้านเก่า) ซึ่งย้ายมาจากบ้านแค (บ้านดงบังในปัจจุบัน)่ ครั้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2311 บ้านตากแดดเกิดโรคห่า (โรคอหิวาตกโรค) ระบาดผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงพากันอพยพหนี โดยแยกย้ายกันเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งอพยพไปทางทิศเหนือ และไปตั้งชื่อบ้านใหม่ว่า "บ้านโพนงาม" และอีกกลุ่มหนึ่งอพยพไปทางทิศตะวันตก ไปตั้งหมู่บ้านใหม่ว่า "บ้านหนองบ่อ" และเรียกว่าบ้านหนองบ่อมาจนถึงปัจจุบัน และปัจจุบันนี้ อบต. หนองบ่อ แบ่งการปกครองออกเป็น 13 หมู่บ้าน          ที่ตั้ง อบต.หนองบ่อ ตั้งอยู่บ้านหนองบ่อ หมู่ที่ 1 ต. หนองบ่อ อ. เมือง จ. อุบลราชธานี ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม น

การทอผ้าไหมบ้านหนองบ่อ

รูปภาพ
การทอผ้าไหมบ้านหนองบ่อ กลุ่มอาชีพทอผ้าบ้านหนองบ่อ หมู่ 1 ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2544 โดยมี นางประคอง บุญขจร เป็นประธานกลุ่ม มีแม่อุษา ศิลาโชติ แม่อุไร ส่งเสริม เป็นปราชญ์ชาวบ้าน คอยให้ความรู้แก่สมาชิกคนอื่นๆในกลุ่ม โดยมีสมาชิกแรกเริ่ม 20 คน กลุ่มมีผลิตภัณฑ์เด่นคือ ผ้าไหม และผลิตภัณฑ์รองคือ ผ้าด้าย โดยกลุ่มทอผ้าได้มีการสืบทอดภูมิปัญญาสู่เยาวชนและสตรีในหมู่บ้าน เพื่อให้มีรายได้เสริมนอกจากฤดูทำนา ซึ่งกลุ่มได้มีการพัฒนาฝีมือในการผลิตผลิตภัณฑ์ขึ้นเรื่อย ๆ จนปัจจุบันเป็นที่รู้จักของลูกค้าโดยทั่วไป        องค์ความรู้เรื่องการทอผ้าไหมของบ้านหนองบ่อนี้ มีการการจัดกิจกรรมเพื่อสืบสาน อนุรักษ์และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเยาวชนด้วย   โดยจัดเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนบ้านหนองบ่อ   มีการปลูกหม่อน   มีโรงเรือนเลี้ยงไหม   ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ อุบลราชธานี

กระบวนการผลิต

รูปภาพ
การเลี้ยงไหมและผีเสื้อไหม           เส้นใยที่นำออกมาทอเป็นผ้าไหมนั้น ได้มาจากใยที่หุ้มดักแด้ที่เรียกว่า “ รังไหม ” ซึ่งรังไหมนี้คือ ช่วงชีวิตหนึ่งของผีเสื้อกลุ่ม Lepidoptera ที่อยู่ในวงศ์ Bombycidae สำหรับไหมที่ใช้เลี้ยงเพื่อผลิตเส้นใยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Bombyx Mori สายพันธุ์ไหมที่เลี้ยงในการทอผ้าของกลุ่มอาชีพทอผ้าบ้านหนองบ่อ ได้แก่ พันธุ์ดอกบัว พันธุ์เหลืองไพโรจน์ ( จะเส้นไหมในปริมาณมาก) พันธุ์พื้นบ้าน เช่น นางตุ่ย นางสิ่ว ส่วนหนึ่งได้พันธุ์มาจากการสนับสนุนของศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติอุบลราชธานี การเลี้ยงหม่อนจะมีทั้งเลี้ยงที่บ้านและเลี้ยงที่ศูนย์ทอผ้าของหมู่บ้าน ตัวผีเสื้อไหมมี 2 ปีก สีขาวปนเทา ไม่มีปากแต่มีรอยเหมือนปาก ผีเสื้อตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ไม่สามารถบินไกลได้ ลักษณะการบินจะคล้ายการกระโดดไกลๆ ผีเสื้อไหมจะมีอายุที่สั้นมาก หลังจากการผสมพันธุ์และออกไข่ ประมาณ 250-500 ฟองแล้ว ผีเสื้อไหมจะตายรวมเวลาแล้วประมาณ 2-3 วัน ภาพที่ 1 ภาพผีเสื้อไหมและไข่ไหม

ตัวหนอนไหม

รูปภาพ
ตัวหนอนไหม            ในการเลี้ยงตัวหนอนไหมจะใช้ผ้าขาวบางสะอาดหรือผ้าวิ่นสะอาดคลุมกระด้งไว้ป้องกันแมลงและสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ลงไปในกระด้ง โดยในการเลี้ยงชาวบ้านจะมีข้อระวัง คือ จะเลี้ยงในโรงเรือนที่สะอาด โล่ง ปลอดโปร่ง ห้ามมีกลิ่นน้ำหอม กลิ่นควัน แมลง หนู รบกวน รักษาความชื้นให้เหมาะสม ถ้ามีความชื้นมาก เช่น ฤดูฝนจะไม่นิยมเลี้ยง และไม่ให้อากาศร้อนจนเกินไป ถ้าหากอากาศร้อนจะคลุมกระด้งเลี้ยงตัวหนอนด้วยผ้าเปียกที่ซักสะอาดแล้ว ระยะเวลาในการเลี้ยง ประมาณ 25 วันจึงจะได้ฝักหลอกนำไปสาวได้ แต่ถ้าให้อาหารหนอนไหมไม่สม่ำเสมอ จะใช้เวลาเลี้ยงนานขึ้น คือ ประมาณ 30 วัน            ตัวหนอนระยะที่ 1 ( วัย 1) ไข่ไหมจะฟักออกมาเป็นตัวหนอนตัวเล็กๆ จากนั้นจะกินใบหม่อนที่หั่นฝอยละเอียดแล้วเป็นอาหาร จะกินอยู่อย่างนี้ประมาณ 4 วัน จากนั้นจะทำการลอกคราบเพื่อให้ลำตัวยาวและโตขึ้น หลังจากลอกคราบแล้วตัวหนอนไหมจะนอนเหยียดตรง นิ่ง ไม่กินอาหารเป็นเวลา 1 วัน 1 คืน เรียกว่า “ ไหมนอน ” และจะกินอาหารไปเรื่อยๆ            ตัวหนอนระยะที่ 2 ( วัย 2) ตัวหนอนระยะนี้จะกินอาหารไปเรื่อยๆ ประมาณ 2 วัน แล้วถึงจะลอกคราบอ

รังไหม

รูปภาพ
รังไหม           รังไหมมีลักษณะกลมรี มีทั้งสีขาวและสีเหลืองขึ้นอยู่กับพันธุ์ของรังไหม โดยรังไหมจะประกอบไปด้วย เส้นใยคือโปรตีนที่แข็งตัวซึ่งตัวไหมหลั่งออกมาจากต่อมที่ศีรษะเรียกว่า Fibroin และมีโปรตีนที่ช่วยยึดให้ติดกันเป็นรังไหมที่เรียกว่า Serricin ภาพที่ 3 ภาพรังไหม                      ตัวหนอนไหมจะเริ่มชักใยจากข้างนอกเข้าหาตัวเป็นรูปตัววี ตรงกลางคอดเล็กลง ใยไหมจะขับออกมาจากต่อมที่ศีรษะของตัวหนอนไหม ก่อนชักใยไหม ตัวหนอนไหมจะงอตัวเองเข้าเป็นรูปเกือกม้า แล้วยกศีรษะส่ายไปมาเป็นรูปเลขแปด จะชักใยออกมาครั้งแรกค่อนข้างยุ่งแล้งค่อยๆ เรียงเป็นระเบียบขึ้นทุกที ไหมจะชักใยออกมาทีละสองเส้นพร้อมกัน ยึดติดกันเป็นเส้นเดียวกัน โดยขี้ผึ้งหรือ Serricin ที่หุ้มเส้นใยแต่ละเส้น เมื่อแข็งตัวจะยึดติดกันแน่นดูเป็นเส้นเดียวกัน หนอนไหมจะชักใยทำรังเสร็จภายใน 24-72 ชั่วโมง แล้วจะหยุดพัก มีการเปลี่ยนแปลงทางชีวิทยาภายใน หนังเปลือกของหนอนจะแข็งและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ดูเหมือนไม่มีชีวิต เรียกว่า “ ดักแด้ ” ตัวดักแด้นี้จะนอนอยู่ในรังไหม 10-12 วัน แล้วลอกคราบอีกครั้ง กลายเป็นผีเสื้ออ

การสาวเส้นไหม

รูปภาพ
การสาวเส้นไหม           ในการสาวเส้นไหมนั้นมีกระบวนการที่น่าสนใจคือ จะสาวไหมจากเปลือกนอกสุดไปจนถึงข้างใน ซึ่งจะได้เส้นไหม 3 แบบ คือ ไหมนอกหรือไหมลืบ ไหมน้อย และไหมสาม ( ไหมขอดหลอก หรือ ไหมแล ) ซึ่งเส้นไหมที่เปลือกจะเส้นใหญ่มีความหยาบกว่าเส้นไหมที่อยู่ข้างใน  ต้มน้ำร้อนอุณหภูมิประมาณ 70-80 องศา ( จะใช้ไฟปานกลางต้มน้ำให้ร้อนกำลังจะเดือด ถ้าใช้ไฟแรงน้ำเดือดจะสาวไหมได้เส้นไหมใหญ่ ) เพื่อให้ความร้อนจากน้ำช่วยละลาย Serricin ( โปรตีน ) ที่ยึดเส้นไหมจากนั้นใส่รังไหม ( ฝักหลอก ) ที่เตรียมไว้ลงไปในหม้อประมาณ 80   ฝัก ครั้งต่อไปประมาณ 20-30 ฝัก หรือเท่า ๆ กับจำนวนฝักหลอกที่ตักขึ้น จากนั้นใช้ไม้พายเล็กแกว่งตรงกลางเป็นแฉกคนรังไหมกดรังไหมให้จมน้ำเสียก่อน เมื่อรังไหมลอยขึ้นจึงค่อยๆ ตะล่อมให้รวมกันแล้วค่อยๆ ดึงเส้นใยไหมออกมา จะได้เส้นใยไหมที่มีขนาดเล็กมาก ดึงเส้นไหมลอดออกมาตามแฉกไม้ ซึ่งจะทำให้ได้เส้นไหมที่สม่ำเสมอและรังไหมไม่ไต่ตามมากับเส้นที่สาวได้ เส้นไหมที่สาวได้จะผ่านไม้หีบขึ้นไปร้อยกับรอกที่แขวนหรือพวงสาวที่ยึดติดกับปากหม้อ พวงสาวที่ใช้จะใช้แบบสามพวง ซึ่งจะทำให้การปั่นเกลียวเส้นทำได้ดีข

แผนภูมิกระบวนการสาวไหมบ้านหนองบ่อและอุปกรณ์ในการสาวไหม

รูปภาพ
ภาพที่ 6 แผนภูมิกระบวนการสาวไหม บ้านหนองบ่อและอุปกรณ์ ในการสาวไหม

เส้นไหม การฟอกกาว และการเตรียมเส้นไหม

รูปภาพ
เส้นไหม          ไหมนอกหรือไหมลืบ หมายถึง การสาวเส้นไหมจากเปลือกรังชั้นนอก                  ไหมน้อย คือ การสาวเส้นไหมจากเปลือกรังชั้นใน เป็นไหมที่สวยงามและมีคุณภาพดี          ไหมสาม ( ไหมขอดหลอก หรือ ไหมแลง ) คือ เส้นไหมที่ได้จากการสาวไหมจากเปลือกชั้นในสุดที่เหลือจากการสาวไหมแล้ว มาทำการสาวซ้ำอีกครั้งก็จะได้เส้นไหม เรียกว่า ไหมแลง เป็นเส้นไหมเส้นใหญ่ ลักษณะคล้ายกับไหมลืบ การฟอกกาว            การฟอกกาว หรือการด่องไหมด้วยด่าง คือการล้างกาวไหมออก ถ้าไม่ฟอกกาวออกเส้นไหมจะกัดกันขาด ชาวบ้านหนองบ่อมีวิธีการฟอกกาวทั้งแบบธรรมชาติและแบบเคมี แบบธรรมชาติมีวิธีการทำ คือ เผาต้นขี้เหล็กจนได้ขี้เถ้า นำกากมะพร้าวหรือผ้าขาวมากรองเอาเฉพาะขี้เถ้า ขี้เถ้าที่ได้นำไปละลายน้ำจะได้น้ำขี้เถ้าหรือน้ำด่าง แล้วนำเส้นไหมลงไปแช่ให้ท่วม ประมาณ 10 นาที จึงบิดน้ำด่างออก แล้วจึงนำเส้นไหมลงต้มในน้ำเดือด ประมาณ 30 นาที ค่อยนำมาล้างด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง โดยทดสอบด้วยการขยี้เส้นไหม ถ้าลื่น แสดงว่า ยังล้างกาวออกไม่หมด ให้ล้างน้ำสะอาดต่อจนเส้นไหมฝืดมือ หรือจนน้ำล้างใส ประมาณ 10 ครั้ง ในระหว่างล้

เครื่องมือที่ใช้ทอผ้าไหม

รูปภาพ
เครื่องมือที่ใช้ทอผ้าไหม เครื่องมือที่ใช้ในการทอผ้าไหมมี 2 ชนิด คือ หูก หรือกี่พื้นบ้าน ส่วนใหญ่ใช้ในการทอผ้าไหมลายลูกแก้วย้อมมะเกลือ ผ้าไหมมัดหมี่ลายปราสาทผึ้ง ผ้าไหมลายหัวซิ่นจกดาว ผ้าห่มขิด ผ้าขาวม้า (ผ้าแพรปลาไหล) ตีนซิ่นตี่ เป็นต้น หูก หรือกี่พื้นบ้าน ขนาดเล็ก            หูก หรือกี่พื้นบ้าน ขนาดใหญ่ ภาพที่ 8 ภาพของหูก หรือกี่พื้นบ้านสำหรับการทอผ้าไหม ส่วนประกอบที่สำคัญ          “ ตะกอ ” หรือ “ เขาหูก ” เป็นเครื่องมือสำหรับแบ่งเส้นด้ายยืนออกเป็นหมวดหมู่ให้ได้ลายขัดที่ต้องการ           “ ฟืม ” หรือ “ ฟันหวี ” มีฟันเป็นซี่ๆ คล้ายหวี ใช้สำหรับสอดไหมยืนเพื่อจัดเส้นไหมให้อยู่ห่างกัน และใช้กระทบไหมพุ่ง ที่สานขัดกับไหมให้อัดแน่นเป็นเนื้อผ้าในแต่ละช่วงของฟันหวีจะใช้สอดเส้นยืน 2 เส้น         “ ไม้เหยียบหูก ” เป็นไม้กลมๆ ยาวประมาณ 1.50 - 2.00 เมตร สำหรับสอดกับเชือกที่ผูกโยง จากด้านล่างของเขาลงมาทำเป็นห่วงไว้เมื่อจะให้เขาขึ้น - ลง ในกรณีเปลี่ยนสีของเส้นไหมก็เหยียบไม้นี้ ไม้เหยียบหูก จะมีจำนวนเท่ากับจำนวนของฟืมนั้นๆ          “ กระสวย ”

วิธีทอผ้าไหม กระบวนการย้อมสี

รูปภาพ
วิธีทอผ้าไหม                       ยกตะกอขึ้น เพื่อให้ด้ายยืนแยกออกจากกันจนเกิดช่องว่างขึ้น จากนั้นพุ่งกะสวยผ่านช่องว่างเพื่อสอดด้ายพุ่งให้ขัดกับด้ายยืนแล้วใช้ฟันหวีตีกระทบให้ด้ายพุ่งเข้าที่ กระบวนการย้อมสี                       ในการย้อมของกลุ่มทอผ้าบ้านหนองบ่อ มีทั้งการย้อมร้อนและย้อมเย็น นอกจากนี้ยังมีการย้อมก่อนการทอ และการย้อมหลังทอผ้า หมายถึงผ้ายังเป็นสีจากไหมธรรมชาติแล้วค่อยนำมาย้อมตามสีที่ต้องการ คุณภาพของสีที่ได้จะมาจากคุณภาพของสีที่ใช้ย้อมเส้นไหมวิธีการย้อมเส้นไหมตลอดจนการควบคุมอุณหภูมิในขณะย้อมล้วนเป็นตัวแปรที่สำคัญที่จะทำให้เส้นไหมซึ่งออกมาเป็นผืนผ้านั้นคงความเงางามได้นานเพียงใด การย้อมร้อน การย้อมเย็น ภาพที่ 10 ภาพแสดงการย้อมร้อนและย้อมเย็น

กิจกรรมในโครงการสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทอผ้าไหมบ้านหนองบ่อ กิจกรรมที่ 1-3

รูปภาพ
กิจกรรมในโครง การสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทอผ้าไหม           กิจกรรมในโครง การสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทอผ้าไหมบ้านหนองบ่อ เป็นการร่วมมือกันกับ 3 หน่วยงาน ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ปราชญ์ชาวบ้านกลุ่มทอผ้าไหม บ้านหนองบ่อ และคณะครูอาจารย์โรงเรียนมัธยมศึกษาบ้านหนองบ่อ โดยมีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันได้ 5 กิจกรรม ดังนี้           กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน กิจกรรมที่ 1 การศึกษาพื้นฐานความรู้และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของ วัฒนธรรมท้องถิ่นด้านการทอผ้าไหมอีกครั้งโดยได้รับความร่วมมือจากปราชญ์ชาวบ้านบ้านหนองบ่อกรมหม่อนไหมจังหวัดอุบลราชธานีและศูนย์ศิลปาชีพจังหวัดอุบลราชธานี ( บ้านยางน้อย ) ร่วมกับทีมนักวิจัย ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีช่วยให้นักศึกษาได้รับรู้ถึงความสำคัญของการทอผ้าไหมในชุมชนของตน โดยในแต่ละสถานที่มีกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้ ประวัติการทอผ้าของกลุ่มทอผ้าบ้านหนองบ่อกระบวนการเลี้ยงหนอนไหมจากการสาธิตของปราชญ์ชาวบ้านบ้านหนองบ่ประวัติการทอผ้าไหมของชุมชนจังหวัดอุบลราชธานีและวิธีการทอผ้าไหม ของศูนย์ศิลปาชีพจังหวัดอุบลราชธานี บ้านยาง