ตัวหนอนไหม
ตัวหนอนไหม
ในการเลี้ยงตัวหนอนไหมจะใช้ผ้าขาวบางสะอาดหรือผ้าวิ่นสะอาดคลุมกระด้งไว้ป้องกันแมลงและสิ่งแปลกปลอมต่าง
ๆ ลงไปในกระด้ง โดยในการเลี้ยงชาวบ้านจะมีข้อระวัง คือ จะเลี้ยงในโรงเรือนที่สะอาด
โล่ง ปลอดโปร่ง ห้ามมีกลิ่นน้ำหอม กลิ่นควัน แมลง หนู รบกวน
รักษาความชื้นให้เหมาะสม ถ้ามีความชื้นมาก เช่น ฤดูฝนจะไม่นิยมเลี้ยง
และไม่ให้อากาศร้อนจนเกินไป ถ้าหากอากาศร้อนจะคลุมกระด้งเลี้ยงตัวหนอนด้วยผ้าเปียกที่ซักสะอาดแล้ว
ระยะเวลาในการเลี้ยง ประมาณ 25 วันจึงจะได้ฝักหลอกนำไปสาวได้ แต่ถ้าให้อาหารหนอนไหมไม่สม่ำเสมอ
จะใช้เวลาเลี้ยงนานขึ้น คือ ประมาณ 30 วัน
ตัวหนอนระยะที่ 1 (วัย 1) ไข่ไหมจะฟักออกมาเป็นตัวหนอนตัวเล็กๆ
จากนั้นจะกินใบหม่อนที่หั่นฝอยละเอียดแล้วเป็นอาหาร จะกินอยู่อย่างนี้ประมาณ 4 วัน จากนั้นจะทำการลอกคราบเพื่อให้ลำตัวยาวและโตขึ้น
หลังจากลอกคราบแล้วตัวหนอนไหมจะนอนเหยียดตรง นิ่ง ไม่กินอาหารเป็นเวลา 1 วัน 1 คืน เรียกว่า “ไหมนอน” และจะกินอาหารไปเรื่อยๆ
ตัวหนอนระยะที่ 2
(วัย 2) ตัวหนอนระยะนี้จะกินอาหารไปเรื่อยๆ
ประมาณ 2 วัน แล้วถึงจะลอกคราบอีกครั้ง แล้วจะนอนต่อ 1 วัน 1 คืน เมื่อตื่นมาจะเป็นหนอนระยะที่สาม
ตัวหนอนระยะที่ 3
(วัย 3) หนอนวัยนี้จะสามารถกินใบหม่อนทั้งใบไม่ต้องหั่นฝอยระยะนี้ใช้เวลา
2 วัน หลังจากนั้นจะลอกคราบนอนอีก 1 วัน
แล้วจะเข้าสู่ระยะที่สี่
ตัวหนอนระยะที่ 4 (วัย 4) จะกินอาหารจำนวนมากโตเร็วใช้เวลาประมาณ 3
วัน แล้วจะลอกคราบครั้งสุดท้ายเพื่อเข้าสู่ระยะที่ 5
ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายใช้เวลาประมาณ 7-8 วัน
เป็นระยะที่หนอนไหมจะกินใบหม่อนมมากเป็นพิเศษ
การให้อาหาร 1 วัน จะให้อาหาร 4 มื้อ คือ ช่วงเวลาประมาณ 05.00
น. 12.00 น.17.00 น. และ
20.00 น. โดย
วัย 1 จะให้อาหาร 4 วัน
ปล่อยให้นอนจึงให้อาหารใหม่
วัย 2 ให้อาหาร 2 วัน
ปล่อยให้นอนจึงให้อาหารใหม่
วัย 3 ให้อาหาร 2 วัน
ปล่อยให้นอนจึงให้อาหารใหม่
วัย 4 ให้อาหาร 3 วัน
แล้วจะให้อาหารเร่งให้โต ประมาณ 7-8 วัน
พอตัวหนอนไหมเริ่มสุกหรือพร้อมจะพ่นใยก็จะเก็บใส่จ่อ
ในการเลี้ยงตัวหนอนไหมถ้าในกระด้งมีตัวหนอนไหมจำนวนมาก
จะทำให้เจริญเติบโตไม่ทันกัน จะทำการย้ายกระด้งเพื่อกระจายตัวหนอนไหมออกไม่ให้หนาแน่นเกินไป
ภาพที่ 2 ภาพตัวหนอนไหม
เมื่อโตเต็มที่แล้วจะมีต่อมไหมเกิดขึ้นภายในตัวไหม
ทำให้ตัวหนอนไหมีสีเหลือง เรียกว่า “ไหมสุก” ตัวไหมที่สุกจะมีลำตัวสั้นและเล็กลงเล็กน้อย
ตัวโตใสและจะหยุดกินใบหม่อน เริ่มชูหัวส่ายหาที่ทำรัง
ตัวหนอนไหมที่สุกเต็มที่จะถูกเก็บรักษาเข้า “จ่อ” เพื่อชักใยทำรังเป็น “รังไหม” ที่นำมาสาวใยและนำไปทอเป็นผ้าไหมนั่นเอง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น