เครื่องมือที่ใช้ทอผ้าไหม
เครื่องมือที่ใช้ทอผ้าไหม
เครื่องมือที่ใช้ในการทอผ้าไหมมี
2 ชนิด คือ หูก หรือกี่พื้นบ้าน ส่วนใหญ่ใช้ในการทอผ้าไหมลายลูกแก้วย้อมมะเกลือ
ผ้าไหมมัดหมี่ลายปราสาทผึ้ง ผ้าไหมลายหัวซิ่นจกดาว ผ้าห่มขิด ผ้าขาวม้า
(ผ้าแพรปลาไหล) ตีนซิ่นตี่ เป็นต้น
หูก หรือกี่พื้นบ้าน ขนาดเล็ก
หูก
หรือกี่พื้นบ้าน ขนาดใหญ่
ภาพที่ 8 ภาพของหูก
หรือกี่พื้นบ้านสำหรับการทอผ้าไหม
ส่วนประกอบที่สำคัญ
“ตะกอ” หรือ “เขาหูก” เป็นเครื่องมือสำหรับแบ่งเส้นด้ายยืนออกเป็นหมวดหมู่ให้ได้ลายขัดที่ต้องการ
“ฟืม”
หรือ “ฟันหวี” มีฟันเป็นซี่ๆ คล้ายหวี
ใช้สำหรับสอดไหมยืนเพื่อจัดเส้นไหมให้อยู่ห่างกัน และใช้กระทบไหมพุ่ง
ที่สานขัดกับไหมให้อัดแน่นเป็นเนื้อผ้าในแต่ละช่วงของฟันหวีจะใช้สอดเส้นยืน 2
เส้น
“ไม้เหยียบหูก” เป็นไม้กลมๆ ยาวประมาณ 1.50 - 2.00 เมตร สำหรับสอดกับเชือกที่ผูกโยง
จากด้านล่างของเขาลงมาทำเป็นห่วงไว้เมื่อจะให้เขาขึ้น - ลง ในกรณีเปลี่ยนสีของเส้นไหมก็เหยียบไม้นี้
ไม้เหยียบหูก จะมีจำนวนเท่ากับจำนวนของฟืมนั้นๆ
“กระสวย” คือ เครื่องมือสำหรับบรรจุหลอดไหมพุ่ง
สำหรับพุ่งสอดไประหว่างช่องของเส้นไหมยืน ทำให้เส้นไหม 2 ชนิด
สานขัดกันจนเป็นเนื้อผ้า
“หลอดด้าย” นิยมทำจากเถาวัลย์ชนิดหนึ่ง เรียกว่า เครือไส้ตัน เครือไส้ตันนี้จะมีรูกลวงตลอด
ตัดเป็นท่อนๆ ท่อนละประมาณ 3 นิ้ว อาจจะใช้ไม้อย่างอื่นก็ได้ที่มีรูตรงกลาง
เช่น ลำปอแก้ว เพื่อใช้ไม้สอดยึดติดกับกระสวย ไม้นี้เรียกว่าไม้ขอหลอด
“ไม้ขิด” ใช้สำหรับคัด
“ไม้ขิด” ใช้สำหรับคัด
“ ไม้ขิด”
“กระสวย”
“ตะกอ” หรือ “เขาหูก”
“ฟืม” หรือ “ฟันหวี”
“หลอดด้าย”
“ไม้เหยียบหูก”
ภาพที่ 9 ภาพของเครื่องมือที่ใช้ทอผ้าไหม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น